วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แรงบันดาลใจ




        สถานสงเคราะห์เด็กตามที่ต่างๆ มักจะมีเด็กอ่อนและเด็กเล็กที่รับสงเคราะ์ห์ เมื่อมีผู้ใจบุญเข้ามาช่วยเหลือในสถานสงเคราะ์ห์ บางคนอาจจะยังไม่รู้กฎหรือข้อห้ามต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการรบกวนต่อเด็กบางคน จากที่กล่าวมาข้างต้นผมจึงมีความคิดที่จะทำป้ายสัญลักษณ์ เพราะป้ายสัญลักษณ์เป็นภาษาสากลที่เชื่อมโยงการสื่อสาร การรับรู้ ให้คนทุกเพศทุกวัย ว่าเมื่อเข้ามาแล้วควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนต่อเด็กบางคน

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Proposal_std


ข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ประเภทนักศึกษา

ส่วน ก : ลักษณะทั่วไปของโครงการวิจัย
1. ปีการศึกษาที่เสนอขอรับทุน 2555
2. ประเภทการวิจัย
          (  ) การวิจัยสำรวจ        ( / )การวิจัยทดลอง     (  ) การวิจัยและพัฒนา
          (  ) การวิจัยสถาบัน      (  ) การวิจัยในชั้นเรียน  (  ) การวิจัยสิ่งประดิษฐ์
3. งบประมาณที่เสนอขอทุน 5,000 บาท
4. ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ปี

ส่วน ข : รายละเอียดการทำวิจัย
1. ชื่อโครงการวิจัย
          ชื่อโครงการวิจัย ศิลปะการออกแบบป้ายสัญลักษณ์ ชุด Mr. Blue : บ้านเฟื่องฟ้า พ.ศ. 2555

2. ชื่อผู้วิจัย/คณะผู้วิจัย
          นายวรมน   เทพรัตน์ 
รหัสประจำตัว  5311322191
สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์) 
ภาควิชามนุษยศาสตร์   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

3. ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลโดยผ่านช่องทางหรือสื่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกันด้วยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล
ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมจะส่งข้อมูลผ่านสื่อหรือตัวกลาง เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนจากภายนอก โดยการเปลี่ยนข้อมูลเป็นสัญญาณหรือรหัส  เมื่อถึงปลายทางจะต้องถอดรหัส (สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เพื่อให้ผู้รับเข้าใจข้อมูลที่ถูกส่งมาถึง
การประชาสัมพันธ์ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ คือ Public Relations
Public หมายถึง หมู่คน ประชาชน หรือสาธารณชน
Relations หมายถึง การสัมพันธ์
ดังนั้น ถ้าแปลความหมายแล้ว การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) หมายถึง การสัมพันธ์กับคนหมู่มาก
(19 พฤศจิกายน 2555 จาก http://region3.prd.go.th/phrae/data/pr0.html)
ประเภทของสื่อที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ 
โดยปกติทั่วไปมีการแบ่งประเภทของสื่อกันไว้หลายประเภท และหลายหลักเกณฑ์ (criteria) ได้ประมวลสรุปไว้ดังนี้
1. แบ่งตามวิวัฒนาการ ได้แก่ สื่อประเพณี (traditional media) สื่อมวลชน (mass media) สื่อเฉพาะกิจ (specializedmedia)
2. แบ่งตามบทบาทหน้าที่ทางสังคม ได้แก่ สื่อข่าวสาร (information media) สื่อการศึกษา
(educationmedia) สื่อบันเทิง (entertainmentmedia)
3. แบ่งตามประสาทที่ใช้ในการรับสาร ได้แก่ สื่อโสต (audio media) สื่อทัศน์ (visual media)สื่อโสตทัศน์ (audio-visualmedia)
4. แบ่งตามบทบาทหน้าที่ทางเทคนิค (technical functions) ได้แก่ สื่อถ่ายทอดสาร transmissionmedia) สื่อบันทึกสาร (record media)
5. แบ่งตามเครื่องนำรหัสสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (print media) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronicmedia) สื่อบันเทิงเสียงหรือภาพ (film or tape)
สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สื่อประชาสัมพันธ์ที่ควบคุมได้ (Controllable Media) ได้แก่
                   - สื่อสิ่งพิมพ์ Print Media)
                   - สื่อบุคคล (Personal Media)
                   - สื่อโสตทัศน์ (Audio-visual Media)
                   - สื่อกิจกรรมต่าง ๆ (Activity Media)
2. สื่อประชาสัมพันธ์ที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable Media)
                   - สื่อมวลชน (Mass Media)
สื่อสิ่งพิมพ์ (Print Media) 
สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ (The Printed Words)
1.1 สื่อเพื่อการสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน (House or Home Journal) เป็นหนังสือวารสารสิ่งพิมพ์ที่ใช้สื่อสัมพันธ์ในหน่วยงานให้รู้หรือเข้าใจและแจกจ่ายกันเฉพาะภายในหน่วยงาน
1.2 สื่อสัมพันธ์ภายนอกหน่วยงาน (External Publication) เป็นวารสารสิ่งพิมพ์ที่ใช้เพื่อสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับบุคคลภายนอกหน่วยงาน จัดทำรูปเล่ม ประณีต ใช้ถ้อยคำ สำนวน ภาษา เป็นทางการ การระมัดระวังมากกว่าหนังสือสัมพันธ์ภายใน
1.3 สื่อสัมพันธ์แบบผสม (Combination) เป็นการจัดทำสิ่งพิมพ์ สื่อสัมพันธ์ในลักษณะผสมใช้อ่านได้ ทั้งคนภายในและภายนอกหน่วยงานในเล่มเดียวกัน
การเตรียมสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ (Preparation for Publication) ก่อนจะทำสิ่งพิมพ์ควรมีการวางแผนให้เรียบร้อย การวางแผนที่ดีต้องคำนึงถึงสิ่ง 3 ประการด้วยกัน คือ วัตถุประสงค์ (Purpose) ผู้อ่าน (Reader) และรูปแบบ (Format) ในขณะเดียวกันจะต้องพิจารณาปัจจัยทั้ง 3 ประการนี้ร่วมกัน
1. วัตถุประสงค์ (Purpose) ก่อนที่จะทำหนังสือควรจะวางวัตถุประสงค์อย่างรอบคอบ เขียนวัตถุประสงค์และให้ผู้อ่านมีอำนาจอนุมัติและทำงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
2. ผู้อ่าน (Reader) งานสำคัญอันดับแรกคือ ทำงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และงานนั้นจะเป็นจริงได้ต้องคำนึงถึงผู้อ่านเป็นหลัก ผู้อ่านจะเป็นผู้ตัดสินผลงาน ถ้าเขารู้สึกซาบซึ้งกับหนังสือก็ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเขาไม่อ่านหนังสือเขาก็จะไม่ซาบซึ้ง ดังนั้น เราต้องตอบให้ได้ว่านิสัยในการอ่านหนังสือของเขาเป็นอย่างไร ตัวอย่างประเภทไหนที่จะดึงดูดความสนใจของเขา จะวางเค้าโครงเรื่องอย่างไรจึงจะเอาชนะใจเขาได้ ควรจะเป็นส่วนไหน เป็นต้น
3. รูปแบบ (Format) มีสิ่งพิมพ์ที่ไม่คำนึงถึงผู้อ่าน แล้วก็ไม่อยากที่จะวางรูปแบบ ควรกำหนดขนาดของหน้า จำนวนหน้า รูปภาพ มีการ์ตูนหรือไม่ และอื่น ๆ อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยในการกำหนดรูปแบบ คือ หาจุลสารที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน และกลุ่มผู้อ่านเดียวกัน ลองอ่านและวิเคราะห์และลองวางรูปแบบซึ่งในการวางรูปแบบนั้นควรคำนึงถึงงบประมาณและเนื้อหาที่จะให้
สื่อสิ่งพิมพ์มีลักษณะต่าง ๆ คือ
1.1 หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
1.2 วารสาร (Journal)
1.3 นิตยสาร (Magazines)
1.4 หนังสือรายงานประจำปี
1.5 หนังสือรายงานประจำงวด (Imperium Report)
1.6 จดหมาย (News Letter)
1.7 ป้ายประกาศและโปสเตอร์
          1.8 แผ่นพับ (Folder)
          1.9 เอกสารแจก
          1.10 จุลสาร (Booklet and Bulletin)
          1.11 ใบปลิว (Leaflet)
(19 พฤศจิกายน 2555 จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=292121)
ระบบป้ายสัญลักษณ์ในประเทศไทย ปัจจุบันถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการชี้นำทาง ตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สถานที่บางแห่งซึ่งเป็นที่สำหรับเด็ก ก็ยังคงใช้ระบบป้ายสัญลักษณ์ ที่ใช้สื่อความหมายภาพสัญลักษณ์แบบเดียวกัน ซึ่งส่งผลต่อความเข้าใจความหมายของเด็ก และยังส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กอีกด้วย
(19 พฤศจิกายน 2555 จาก http://www.researchgate.net/publication/27805919__)
          ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นการยืนยันได้ว่า ป้ายสัญลักษณ์เป็นภาษาสากลที่เชื่อมโยงการสื่อสาร การรับรู้ ความเข้าใจแก่คนทุกเพศทุกวัยได้อย่างน่าทึ่งและมหัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กพิเศษ หรือ "เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" สำหรับสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา (บ้านเฟื่องฟ้า) เป็นหน่วยงานของรัฐ รับผิดชอบเลี้ยงดูอุปการะเด็กอ่อนพิการทุกประเภททั้งชายและหญิงตั้งแต่แรกเกิดถึง 7 ปี นอกจากจะได้รับงบประมาณจากภาครัฐในการบริหารจัดการก็ไม่เพียงพอด้วยปริมาณเด็กที่ต้องเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการเปิดรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นสิ่งของเครื่องใช้สำหรับเด็กอ่อน ได้แก่ ข้าวสาร ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แผ่นรองซับ เสื้อผ้าเด็ก นม จึงมีแนวคิดว่า การทำป้ายสัญลักษณ์ โดยออกแบบดีไซน์รูปแบบ เพื่อให้บุคคลภายนอกเมื่อเข้ามาแล้วสามารถเข้าใจได้ว่าเมื่อเข้ามาแล้วควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความรบกวนต่อเด็ก ๆ เหล่านี้

4. วัตถุประสงค์การวิจัย
4.1 เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE) ของศิลปะการออกแบบป้ายสัญลักษณ์เพื่อสถานสงเคราะห์บ้านเฟื่องฟ้า ชุด Mr. Blue ที่จัดทำเป็นงานวิจัย
          4.2 เพื่อศึกษากระบวนศิลปะการออกแบบป้ายสัญลักษณ์ ชุด Mr. Blue

5. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

6. นิยามศัพท์เฉพาะ
เด็กพิเศษ (Special Child) มาจากคำเต็มว่าเด็กทีมีความต้องการพิเศษ(Child with Special Needs ) หมายถึง เด็กกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆไปทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่งนายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา(จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น)ได้แบ่งเด็กพิเศษเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความพกพร่อง และสุดท้ายเด็กยากจนและด้อยโอกาสแต่ในการศึกษาปัญหาการวิจัยโครงการวิจัย ศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ จะหมายถึงเด็กพิเศษที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนทางสมองและปัญญาหรือที่รู้จักกันในนาม บ้านเฟื่องฟ้า ซึ่งรับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กอ่อนพิการทุกประเภททั้งชาย และ หญิง อายุแรกเกิดถึง 7 ปี
          สีน้ำเงิน (Blue) เป็นสีแห่งท้องฟ้าและมหาสมุทร สีน้ำเงินเป็นสีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอีกสีหนึ่ง มีส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่ตรงกันข้ามกับสีแดง สีน้ำเงินที่สงบเยือกเย็นทำให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่ทำให้อารมณ์สงบลงได้ มันจึงมักจะถูกใช้ในห้องนอน สีน้ำเงินยังอาจเป็นสีแห่งความเย็นชาและทำให้ใจห่อเหี่ยวได้ด้วย ผู้ให้คำปรึกษาด้านแฟชั่นแนะนำให้สวมชุดสีน้ำเงินไปในการสัมภาษณ์งานเพราะมันเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์จงรักภักดี คนเราทำงานได้ดีในห้องสีน้ำเงิน จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นักยกน้ำหนักสามารถยกได้หนักขึ้นในห้องสีน้ำเงิน

7. ขอบเขตการวิจัย
7.1  แบบร่าง (IDEA SKETCH)
          7.2  แบบที่ทำการสรุป (CONCEPT SKETCH)
          7.3  แบบเพื่อนำไปผลิต (WORKING DRAWING หรือ ART WORK) 
          7.4  ต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE)
          7.5  รายงานการวิจัยจำนวน 3 ฉบับ 
          7.6  ซีดีรายงานการวิจัยจำนวน 1 ชุด

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
8.1  กระบวนการออกแบบศิลปะการออกแบบป้ายสัญลักษณ์เพื่อสถานสงเคราะห์ ชุด Mr. Blue
          8.2  การให้ความร่วมมือจากบุคคลภายนอกเพราะเข้าใจในความหมายของป้ายสัญลักษณ์
          8.3  เอื้อเฟื้อต่อสังคม

9. การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารอ้างอิง
9.1.1  การออกแบบลวดลาย
          เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ การรู้จักคิด วางแผน ในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีอยู่แล้วนำมาปรับปรุง ดัดแปลงแก้ไข หรือสร้างสรรค์ใหม่โดยใช้วิธีการต่างๆ ทำให้เกิดความงาม เพื่อการประดิษฐ์ตกแต่งใหม่ให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย (เอมอร วิศุภกาญจน์,2542 : 2)
          9.1.2  หลักการใช้สี
           เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นอย่างมากในด้านของการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก การที่เราจะกำหนดสีลงในลวดลาย ผู้ออกแบบควรรับรู้หลักการใช้สีเพื่อจะได้กำหนดสีได้ถูกต้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และประโยชน์ใช้สอยอีกด้วย
(ดุษฎี  สุนทรารชุน,2531 :107)
9.1.3  หลักการใช้สีประกอบร่วมแบบวรรณะ (TONE)
                      เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีเราจะนำมาระบายนั้นส่วนใหญ่มักจะใช้สีประกอบร่วมแบบ       แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ที่ทำการออกแบบที่จะมุ่งที่ทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึก ไปในทางร้อนหรือ เย็น หรืออีกทางหนึ่งก็คือทำให้เกิดการผสมผสานและกลมกลืนกัน การใช้สี ประกอบร่วม        วรรณะจะไม่ใช้วรรณะใดวรรณะหนึ่งโดดเดี่ยว โดยกำหนดหลักการใช้สีไว้ ในอัตรา           50/50,60 /40,80/20 (คนึง จันทร์ศิริ:มปป.)

10. ระเบียบวิธีวิจัย
10.1 ประชากร
                   กลุ่มผู้บริโภค Generation จำนวน ........... คน
          10.2 การสุ่มตัวอย่าง
                   ใช้การสุ่มแบบง่าย ตามสูตรยามาเน
จากนั้นจึงกำหนดกระบวนการตามกรอบการวิจัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
10.2.1 ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต  (PRE-PRODUCTION)
- กำหนดประเด็นของปัญหา  ตัวแปรต้น  และตัวแปรตาม  เพื่อตั้งสมมติฐาน
- จัดทำแบบร่าง  (IDEA  SKETCH)  และทำการสรุปแบบตามสมมติฐาน (CONCEPT  SKETCH)
10.2.2 ขั้นตอนการผลิต  (PRODUCTION)
                   - แสดงกระบวนการผลิตต้นแบบเหมือนจริง
10.2.3 ขั้นตอนหลังการผลิต  ( POST  PRODUCTION)
- ประเมินผลด้วยเครื่องมือที่สร้างไว้โดยมีความสัมพันธ์กับลักษณะของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิจัยในรูปแบบความเรียง
          10.3  เครื่องมือในการวิเคราะห์มูล
                    - แบบสอบถามความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
                    - แบบสัมภาษณ์
          10.4  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
                    - วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) จากร้อยละ

11. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
กิจกรรม
พ.ย. 55
ธ.ค. 55
ม.ค. 56
ก.พ. 56
หมายเหตุ
1. การวางแผนก่อนการผลิต
    - ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
    - แบบร่าง
    - สรุปแบบร่าง





2. กระบวนกานผลิต
    - สรุปแบบ





3. กระบวนการหลังการผลิต
    - ทดสอบสมมติฐาน
    - วิเคราะห์ข้อมูล
    - แปรผล
    - เรียบเรียงรายงานวิจัย






12. รายละเอียดงบประมาณ
          หมวดค่าตอบแทน
ลำดับ
รายการ
ราคาต่อหน่วย
จำนวน
รวมเงิน
หมายเหตุ
1
ค่าจ้างพิมพ์
10 บาท
200 แผ่น
2,000 บาท

2
ค่าจ้างปริ้นสี
5 บาท
200 แผ่น
1,000 บาท


รวมเป็นเงิน
สามพันบาทถ้วน


3,000 บาท


          หมวดค่าใช้สอย
ลำดับ
รายการ
ราคาต่อหน่วย
จำนวน
รวมเงิน
หมายเหตุ
1
แผ่นป้ายอลูมิเนียม

















          หมวดค่าวัสดุ
.

ลงชื่อ.....................................................
                                                                                              (นายวรมน  เทพรัตน์)

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทดลอง โครงร่างงานวิจัยของนักศึกษา


โครงร่างงานวิจัยของนักศึกษา
                                                                              

งานวิจัยเรื่อง ศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ ชุด Animal Planet : บ้านเฟื่องฟ้า พ.. 2555
ART DESIGN PROJECT OF MIRACLE ANIMAL PLANET SHELF : BAAN FUENGFAH  

ชื่อผู้ทำวิจัย  นายวรมน   เทพรัตน์ 
รหัสประจำตัว  531132XXXX
สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์
ภาควิชามนุษยศาสตร์        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 


ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                                   ลงชื่อ .............................................
                                                                            (.............................................)





คณบดีหรือรองคณบดีพิจารณาเห็นชอบ
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                                   ลงชื่อ ..............................................
                                                                           (...............................................)


ข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมประเภทนักศึกษา

ส่วน ก : ลักษณะทั่วไปของโครงการวิจัย
1. ปีการศึกษาที่เสนอขอรับทุน ...............................
2. ประเภทการวิจัย
          (  ) การวิจัยเชิงสำรวจ          ( √ ) การวิจัยเชิงทดลอง      (  ) การวิจัยและพัฒนา
3. งบประมาณที่เสนอขอทุน         บาท
4. ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ปี

ส่วน ข : รายละเอียดการทำวิจัย
1. ชื่อโครงการวิจัย ศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ ชุด Animal Planet : บ้านเฟื่องฟ้า พ.. 2555
ART DESIGN PROJECT OF MIRACLE ANIMAL PLANET SHELF : BAAN FUENGFAH 

2. ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
          ศิลปะเป็นภาษาสากลที่เชื่อมโยงการสื่อสาร การรับรู้ ความเข้าใจแก่คนทุกเพศทุกวัยได้อย่างน่าทึ่งและมหัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กพิเศษ หรือ "เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเพิ่มเติมจากปกติ และเป็นพิเศษทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ด้วยความน่าทึ่งและมหัศจรรย์ของงานศิลปะดังที่กล่าวข้างต้น พบว่าเด็กกลุ่มพิเศษสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างน่าทึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท นานมี จำกัด ได้ร่วมกับโรงเรียนเปรมฤดีศึกษา ที่เปิดโอกาสให้น้องๆ ที่เป็นเด็กพิเศษเรียนร่วมชั้นเรียนกับเพื่อนๆ เด็กปกติ จัดกิจกรรม "ศิลปะช่วยน้อง" ซึ่งเป็นการนำเอาศิลปะมาช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและจินตนาการให้แก่น้องๆ เด็กพิเศษ  บริษัท นานมี จำกัดโดยคุณปรีญาณี สุพุทธิพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ได้ กล่าวว่า นานมีได้นำรูปภาพผลงานของเยาวชนไทยที่ส่งมาร่วมประกวดในโครงการฮอร์สอะวอร์ด ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นต้นแบบเพื่อจัดกิจกรรม "ศิลปะช่วยน้องโดยมีเป้าหมายจัดให้กลุ่มเด็กพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมชั้นเรียนกับเด็กปกติ โดยใช้งานศิลปะเป็นสื่อในการเรียนรู้และร่วมกิจกรรมด้วยกัน ช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ปรากฏผลสัมฤทธิ์ได้อย่างน่าชื่นใจเป็นการฝึกให้เด็กปกติได้เรียนรู้การมีน้ำใจ การแบ่งปัน เป็นการเพิ่มทักษะและความชำนาญจากการที่ได้สอนเพื่อนกลุ่มเด็กพิเศษ เหมือนได้ทบทวนความรู้ของตนเอง แต่เกิดประโยชน์มหาศาลกับเด็กกลุ่มพิเศษ  ซึ่งนอกจากได้รับจากการเรียนรู้ด้านศิลปะแล้ว พบว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการนำศิลปะมาเป็นสื่อในการรับรู้และเข้าใจพฤติกรรมเพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษาอันจะช่วยให้เด็กกลุ่มพิเศษอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่เกิดปัญหาสังคม ไม่เป็นภาระต่อสังคมอันจะส่งผลต่อประเทศชาติ คุณครูปริยา สุตัณฑวิบูลย์ หรือคุณครูแคนดี้ เล่าว่า สังคมและครอบครัวต้องเข้าใจเด็กพิเศษ ว่าน้องๆ เหล่านี้อาจแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์หลายอย่างซึ่งเป็นเรื่องปกติด้วยสภาพของอาการเจ็บป่วย เช่น กรีดร้อง ก้าวร้าว หรือบางคนเงียบ นิ่งเฉย เก็บตัว ไม่กล้าแสดงออกเพราะคิดว่าตนเองไม่เหมือนคนอื่น พ่อแม่และครอบครัวจำเป็นต้องเข้าใจและช่วยปรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้ด้วยศิลปะ ซึ่งเป็นกิจกรรมง่ายๆ แต่ช่วยเยียวยาและกระตุ้นน้องๆกลุ่มนี้ได้มาก ทำให้พวกเขาปลดปล่อยพลังในตนเองและความก้าวร้าวต่างๆ ออกมา รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดที่สะสม และเปิดตัวคือรู้จักเข้าสังคม มีการพูดคุยกับเพื่อน คุณครู ครอบครัว และคนรอบข้าง "วิธีการง่ายๆ ในการสอนศิลปะให้แก่เด็กพิเศษ คือการสอนสิ่งรอบๆ ตัว พูดคุยถึงเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งของในชีวิตประจำวันโดยสร้างเป็นคำถามแบบปลายเปิด เพื่อให้เด็กมีการตอบสนอง เริ่มจากรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ และการลากเส้นต่างๆ เพื่อจะช่วยฝึกพัฒนาการเรื่องกล้ามเนื้อ บางรายใช้แรงกดของการลงน้ำหนักของสีในการระบาย เพราะมีความบกพร่องในการควบคุมกล้ามเนื้อมือ ชอบกดสีแรงๆ พยายามสอนเพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป" คุณครูแคนดี้ เล่า (2 ตุลาคม 2555 จาก http://www.komchadluek.net/detail/20120804/136812/ศิลปะช่วยสื่อเด็กพิเศษรู้เข้าใจ.html#.UGqY1r)
ศิลปะบําบัด (art therapy) คือ การบําบัดรักษาทางจิตเวชรูปแบบหนึ่ง ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมทาง ศิลปะเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง
การประเมินผลการบําบัดรักษาด้วยศิลปะบําบัด เน้นที่ กระบวนการและกิจกรรมทางศิลปะ ไม่ได้เน้นที่ผลงานหรือคุณค่าทางศิลปะ (3 ตุลาคม 2555 จาก http://www.happyhomeclinic.com/academy/alt02-arttherapy_artandscience.pdf)
          ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นการยืนยันได้ว่า ศิลปะเป็นภาษาสากลที่เชื่อมโยงการสื่อสาร การรับรู้ ความเข้าใจแก่คนทุกเพศทุกวัยได้อย่างน่าทึ่งและมหัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กพิเศษ หรือ "เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" สำหรับสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา (บ้านเฟื่องฟ้า) เป็นหน่วยงานของรัฐ รับผิดชอบเลี้ยงดูอุปการะเด็กอ่อนพิการทุกประเภททั้งชายและหญิงตั้งแต่แรกเกิดถึง 7 ปี นอกจากจะได้รับงบประมาณจากภาครัฐในการบริหารจัดการก็ไม่เพียงพอด้วยปริมาณเด็กที่ต้องเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการเปิดรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นสิ่งของเครื่องใช้สำหรับเด็กอ่อน ได้แก่ ข้าวสาร ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แผ่นรองซับ เสื้อผ้าเด็ก นม จึงมีแนวคิดว่าการทำชั้นวางของโดยออกแบบดีไซน์เป็นรูปสัตว์ที่มีสีสันสดใส เพื่อมุ่งเน้นการนำศิลปะมาเป็นสื่อให้กลุ่มเด็กพิเศษเกิดความจรรโลงใจและยังช่วยกระตุ้นให้เด็กกลุ่มพิเศษมีความพัฒนาการด้านสมาธิ ความจำ และการแก้ปัญหาในการแยกแยะรูปทรง ไม่ว่าจะเป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือจะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ซึ่งนอกจากเด็กจะได้รับความสนุกสนานแล้ว ยังช่วยให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่าต้องทำอย่างไรเพื่อเล่นให้สำเร็จนอกจากนี้ประโยชน์ของชั้นวางของดังกล่าวช่วยให้ใช้เป็นที่เก็บของได้อย่างเหมาะสมสวยงามดูดี

3. วัตถุประสงค์การวิจัย
      3.1 เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE) ของศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ ชุด Animal Planet ที่จัดทำเป็นงานวิจัย

     3.2เพื่อศึกษากระบวนศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ ชุด Animal Planet
     3.3 เพื่อใช้ศิลปะเป็นสื่อในการสอน ศึกษา ค้นคว้า การแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กพิเศษเพื่อการรักษาต่อเนื่องและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

4. สมมติฐานการวิจัย


5. นิยามศัพท์เฉพาะ
      งานเพ้นท์  หมายถึง การสร้างสรรค์งานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวบนวัสดุ เช่น บนกระดาษ
แผ่นไม้ หรือผนังโดยใช้วัสดุประเภทสี ดินสอ ปากกา ชอล์ค ถ่าน สีน้ำมัน สีน้ำและสีฝุ่น เขียนหรือระบายให้เป็นสื่อทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเข้าใจ โดยสร้างผลงานออกมาในรูปร่างหรือรูปแบบต่างๆ และทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกคล้อยตามหรือเกิดอารมณ์ตามผลงานที่สร้างสรรค์
เด็กพิเศษ (Special Child) มาจากคำเต็มว่าเด็กทีมีความต้องการพิเศษ(Child with Special Needs ) หมายถึง เด็กกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆไปทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่งนายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา(จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น)ได้แบ่งเด็กพิเศษเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความพกพร่อง และสุดท้ายเด็กยากจนและด้อยโอกาสแต่ในการศึกษาปัญหาการวิจัยโครงการวิจัย ศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ จะหมายถึงเด็กพิเศษที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนทางสมองและปัญญาหรือที่รู้จักกันในนาม บ้านเฟื่องฟ้า ซึ่งรับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กอ่อนพิการทุกประเภททั้งชาย และ หญิง อายุแรกเกิดถึง 7 ปี

6. ขอบเขตการวิจัย
    6.1  แบบร่าง (IDEA SKETCH)
    6.2  แบบที่ทำการสรุป (CONCEPT SKETCH)
    6.3  แบบเพื่อนำไปผลิต (WORKING DRAWING หรือ ART WORK) 
    6.4  ต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE)
    6.5  รายงานการวิจัยจำนวน 3 ฉบับ 
    6.6  ซีดีรายงานการวิจัยจำนวน 1 ชุด

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     7.1  กระบวนการออกแบบศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ ชุด Animal Planet
    7.2  พัฒนาการเรียนรู้เด็กพิเศษ โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อหรือเครื่องมือ

8. การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารอ้างอิง
          ในการวิจัยเรื่องารออกแบบศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ ชุด Animal Planet ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ตรงตาม Concept ที่กำหนดไว้และเป็นงานที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีของสีและการจัดองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบลวดลาย ผู้ศึกษาจึงใช้หลักการที่เกี่ยวข้องดังนี้
     8.1 ทฤษฎี
  8.1.1  การออกแบบลวดลาย
          เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ การรู้จักคิด วางแผน ในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีอยู่แล้วนำมาปรับปรุง ดัดแปลงแก้ไข หรือสร้างสรรค์ใหม่โดยใช้วิธีการต่างๆ ทำให้เกิดความงาม เพื่อการประดิษฐ์ตกแต่งใหม่ให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย (เอมอร วิศุภกาญจน์,2542 : 2)
          8.1.2  หลักการใช้สี
           เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นอย่างมากในด้านของการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก การที่เราจะกำหนดสีลงในลวดลาย ผู้ออกแบบควรรับรู้หลักการใช้สีเพื่อจะได้กำหนดสีได้ถูกต้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และประโยชน์ใช้สอยอีกด้วย
(ดุษฎี  สุนทรารชุน,2531 :107)
8.1.3  หลักการใช้สีประกอบร่วมแบบวรรณะ (TONE)
                      เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีเราจะนำมาระบายนั้นส่วนใหญ่มักจะใช้สีประกอบร่วมแบบ        แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ที่ทำการออกแบบที่จะมุ่งที่ทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึก ไปในทางร้อนหรือ      เย็น หรืออีกทางหนึ่งก็คือทำให้เกิดการผสมผสานและกลมกลืนกัน การใช้สี ประกอบร่วม      วรรณะจะไม่ใช้วรรณะใดวรรณะหนึ่งโดดเดี่ยว โดยกำหนดหลักการใช้สีไว้ ในอัตรา 50/50,60 /40,80/20 (คนึง จันทร์ศิริ:มปป.)

     8.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
           8.2.1 พุฑฒิพงษ์ เพชรรัตน์ : การศึกษาพฤติกรรมซ้ำๆ ของนักเรียนออทิสติกอายุ 7-10 ปีในโรงเรียนศึกษาพิเศษ จากการใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหว พบว่า หลังจากใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเตลื่อนไหวนักเรียนออทิสติกทั้ง 3 คน มีพฤติกรรมซ้ำๆ ลดลงอยู่ในระดับพอใช้และระดับปานกลาง (2 ตุลาคม 2555 จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spe_Ed/Puttipong_P.pdf)

9. ระเบียบวิธีวิจัย
     9.1 ประชากร
          กลุ่มผู้บริโภค Generation จำนวน ........... คน
     9.2 การสุ่มตัวอย่าง
             ใช้การสุ่มแบบง่าย ตามสูตรยามาเน
จากนั้นจึงกำหนดกระบวนการตามกรอบการวิจัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
9.2.1 ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต  (PRE-PRODUCTION)
- กำหนดประเด็นของปัญหา  ตัวแปรต้น  และตัวแปรตาม  เพื่อ
  ตั้งสมมติฐาน
- จัดทำแบบร่าง  (IDEA  SKETCH)  และทำการสรุปแบบตามสมมติฐาน 
  (CONCEPT  SKETCH)
9.2.2 ขั้นตอนการผลิต  (PRODUCTION)
   - แสดงกระบวนการผลิตต้นแบบเหมือนจริง
9.2.3 ขั้นตอนหลังการผลิต  ( POST  PRODUCTION)
- ประเมินผลด้วยเครื่องมือที่สร้างไว้โดยมีความสัมพันธ์กับลักษณะของ
  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิจัยในรูปแบบความเรียง
    9.3  เครื่องมือในการวิเคราะห์มูล
          - แบบสอบถามความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
          - แบบสัมภาษณ์
    9.4  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
          - วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) จากร้อยละ

10. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
กิจกรรม
พย 55
ธค 55
มค 56
กพ 56
หมายเหตุ
1.การวางแผนก่อนการผลิต 
     - ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
     - แบบร่าง
     - สรุปแบบ





2.กระบวนการผลิต  
     - สรุปแบบ





3.กระบวนการหลังการผลิต 
     - ทดสอบสมมติฐาน  
     - วิเคราะห์ข้อมูล
     - แปรผล
     - เรียบเรียงรายงานการวิจัย






11. รายละเอียดงบประมาณ
      11.1 ค่าใช้สอย  
ลำดับ

                 รายการ
ราคาต่อ
 หน่วย
จำนวน
  รวมเงิน
หมายเหตุ
  1.
ค่าจ้างพิมพ์
10 บาท
200 แผ่น
2,000 บาท

  2.
ค่าจ้างปริ้นสี
 5  บาท
200 แผ่น
1,000  บาท

 
                            รวมเป็นเงิน
          (…สามพันบาทถ้วน...)


3,000 บาท

      11.2 ค่าวัสดุ  (ค่าวัสดุที่ผลิตผลงานต้นแบบเหมือนจริง)
ลำดับ

                 รายการ
ราคาต่อ
 หน่วย
จำนวน
  รวมเงิน
หมายเหตุ
  1.


      

 

  2.





 
                             รวมเป็นเงิน
                                  (......)




          รวมงบประมาณทั้งสิ้นเป็นเงิน...  … บาท     
                                                 (…  ...)
หมายเหตุ : ถัวเฉลี่ยทุกรายการ


         ลงชื่อ         .............................................
                                                        ( นายวรมน  เทพรัตน์ )
                                                               ผู้ขอทุนวิจัย
                                                       ......../........./..........


ประวัติผู้วิจัย


ชื่อ-สกุล                           นายวรมน          เทพรัตน์
                                    Mr. WORAMON TEPARAT
รหัสประจำตัว                      531132XXXX
ที่อยู่ปัจจุบัน                       20/197   .รัชดาภิเษก36  ถนนรัชดาภิเษก  แขวง จันทรเกษม    
                                    เขต จตุจัตร  จังหวัดกรุงเทพฯ  10900
โทรศัพท์มือถือ                    086-955-XXXX
โทรศัพท์ที่พักอาศัย               -
E-Mail:                          avocado69@hotmail.com , woramon.te@gmail.com

ประวัติการศึกษา                  - ประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาล จังหวัด สงขลา
                                    - มัธยมศึกษา โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัด สงขลา
                                    - กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)
            ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
            มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



                                                                     …………………………………
                                                                       ( นายวรมน  เทพรัตน์ )
                                                                                   ผู้วิจัย
                                                                  วันที่......./เดือน..../..........